เครื่องพ่นสีไฟฟ้าดีไหม? คงเป็นคำถามที่หลายๆคนที่รักในงานช่าง หรือชอบทำ DIY สนุกๆ กำลังมีปัญหากับการทาสี ไม่ว่าจะเป็นทาแล้วผิวงานไม่เรียบเป็นรอยแปรง หรือว่าเสียเวลามากในการทำสีแต่ละที
วันนี้ลองมาดูวิธีการใช้งานเครื่องพ่นสีไฟฟ้าเผื่อจะช่วยการตัดสินใจครับ.. งานครั้งนี้เป็นการพ่นสีเหล็กโครงสร้างสำหรับต่อเติมบ้านครับ ใช้เหล็กเยอะพอสมควรหากใช้ปรงทาสี งานนี้มีเหนื่อย ปวดเกร็งขา เป็นแน่แท้ ผมเลยหยิบเจ้าเครื่องพ่นสีไฟฟ้ามาใช้อีกครั้ง ลองมาดูกันครับว่ามันใช้งานยังไง…
ขั้นแรกทำงานเตรียมผิวเหล็ก ก่อนเนื่องจากเหล็กที่ซื้อมาเป็นเหล็กที่เค้าเรียกว่า “เหล็กดำ” ซึ่งจะถูกทาด้วยน้ำมันจารบีเพื่อป้องกันสนิมมา เราจะต้องทำการเช็คคราบน้ำมันนี้ออกก่อน ผมแนะนำให้ใช้เช็ดด้วยน้ำมันเบนซิลจะ 91, 95 ก็ได้ไม่ว่ากัน จะช่วยให้เช็ดจารบีออกได้ง่ายขึ้น หากใครมีงบใช้ทินเนอร์ก็ได้…แต่จะแพงกว่ามาก
ขั้นที่ 2 ทำการผสมสี ทำการผสมสีน้ำกับทินเนอร์ให้ได้ความหนืดที่เหมาะสม ในการผสมสีสำหรับใช้กับเครื่องพ่นสีนั้น จะมีเรื่องของความหนืดมาเกี่ยวข้อง เพราะว่าถ้าหากสีหนืดมากเกินไปเครื่องจะไม่สามารถดึงสีขึ้นมากได้ หากเหลวเกินไปสีที่พ่นไปติดพื้นผิวก็จะไม่มีความหนาทำให้อาจต้องพ่นซ้ำหลายรอบ ซึ่งในชุดก็จะแถมมาให้แล้ว เครื่องวัดความหนืดสี หน้าตาลักษณะคล้ายกรวยที่ใช้กอกน้ำ โดยวิธีการวัดความหนืดคือให้เรานำกรวยตักสีขึ้นมาให้เต็มจากนั้นปลอยให้สีไหลออกกรวยจนหมด ให้ระยะเวลาที่สีไหลออกจากกรวยจนหมดความอยู่ที่ 20-30 วินาที ถือว่าใช้ได้ (แต่ผมมักจะชอบที่ 10-15 มากกว่า พ่นมันกว่าเยอะ ^^)
นำสีที่ผสมเสร็จใส่ลงในกาสี จากนั้นก็ประกอบตัวพ่นลมเข้ากับกาพ่นสี
*ควรคนสีน้ำมันในกระป๋องให้เข้ากันก่อน เพื่อให้ส่วนผสมของสีน้ำมันเข้าที่ก่อนนำไปผสมทินเนอร์
ขั้นที่ 3 เริ่มพ่นสี สีที่พ่นออกมาจากเครื่องพ่นสีไฟฟ้า จะไม่ได้พ่นออกมาเป็นหน้าตัดวงกลมเหมือนสเปรย์กระป๋องนะครับ แต่จะพ่นออกเป็นแนวยาวรูปตัว l (แอล) ซึ่งเราสามารถที่จะปรับองศาการพ่นได้ว่าเราต้องการพ่นแนวไหน (ปรับองศาตามชอบเลย) วิธีการพ่นก่อแค่เปิดสวิทซ์เครื่อง เครื่องจะทำการเป่าลมออกมาตลอดเวลา แต่จะไม่มีสีออกมาจนกว่าเราจะกดไก เสียการทำงานก็ดังประมาณเครื่องดูดฝุ่น แถมเครื่องร้อนเร็วต้องทำๆพักๆ เพื่อถนอมเครื่อง
ขั้นตอนที่ 4 ทำความสะอาดกาพ่นสี(สีน้ำมัน) หลังจากที่ใช้งานเสร็จความรีบทำความสะอาดกาพ่นสีทันที เพื่อป้องกันการอุดตัดของสี แต่หากต้องการพักใช้งานไว้ชั่วคราว ควรนำกาพ่นสีเก็บไว้ในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้มิดชิดไม่ให้อากาศเข้าได้ (เคยทำวิธีนี้เก็บไว้ครึ่งวัน สามารถนำมาให้ต่อได้ ยังไม่เคยลองนานกว่านี้)
วิธีการล้างกาสี(ล้างสีน้ำมัน) วิธีนี้เป็นวิธีที่ผมคิดว่าประหยัดทินเนอร์ที่สุดเท่าที่เคยทดลองมา คือการนำกระดาษชำระมาช่วยเช็ดสีออกด้วย ผมได้เขียนไว้ที่นี่แล้ว ->> วิธีการล้างเครื่องพ่นสี
สรุป
ข้อดีกาพ่นสีไฟฟ้า
- งานออกมาสวยงาม ผิวงานเรียบ ไม่มีรอยขนแปรง
- ลงสีชิ้นงานได้เร็วกว่าการใช้แปรงมาก (เปรียบเทียบเหมือนเราใช้แปรงขนาด 4-5 นิ้ว กวาดครั้งเดียว ได้ความหนาของสีเหมือนกับทาด้วยแปรง 2 รอบ)
ข้อเสียกาพ่นสีไฟฟ้า
- เสียงดัง
- เครื่องร้อนเร็ว ใช้งาน 2-3 นาที ก็ต้องพักเพราะกลัวมอเตอร์ไหม้ (อันนี้อาจจะคิดไปเอง แต่ปลอดภัยไว้ก่อน)
- เปลืองสีมากกว่า (กรณีเราพ่นชินงานแคบ จะมีสีส่วนหนึ่งที่ไม่ถูกชิ้นงานทำให้สิ้นเปลือง)
- ฟรุ้งกระจาย สีที่พ่นออกมามีการฟรุ้งกระจาย ต้องระวังเรื่องการฟรุ้งไม่ให้ปลิวไปติดของอย่างอื่น เดียวงานจะเข้า ^^
- เสียเวลาในการล้างกา ประมาณ 10 นาที
ผมมักจะเลือกใช้เครื่องพ่นสีไฟฟ้า เมื่อต้องการทำงานทีละเยอะๆ และสามารถนำมาจัดชิดๆกันได้ เช่นลงสีกันสนิมเหล็กเส้น ลงแลคเกอร์ไม้อัดขนาดใหญ่ แต่หากเป็นงานเล็กๆน้อยๆ หรืองานที่ขึ้นรูปแล้วผมว่าใช้แปรงจะสะดวกกว่า