ก่อนอื่นขอเท้าความก่อนนะครับ ที่บ้านมีบ่อปลาคราฟ 1 บ่อขนาด 7 ตัน (7,000 ลิตร) เป็นบ่อที่ทำให้แทนบ่อเดิมที่ขนาด 2 ตัน พอเปลี่ยนบ่อก็ต้องเปลี่ยนปั้มเพื่อให้รองรับจำนวนน้ำที่มากขึ้น ก็พยายามหาปั้มอยู่หลายตัว ที่เรื่องมากก็เพราะเป็นห่วงเรื่องค่าไฟ เห็นปั้มแต่ละตัวที่พอจะใช้ได้ก็กินไฟซะ 300-400 วัตต์ (ซึ่งกินไฟเกือบพันแน่ๆ) สุดท้ายมาเจอปั้ม Atman HA-20 กำลังสูบน้ำตั้ง 20,000 ลิตร / ชั่วโมง ซึ่งเหลือเฟือมาก แถมกินไฟแค่ 50 วัตต์ เลยซื้อใช้
ใช้ไปหลายเดือนเริ่มเอะใจว่าทำไมค่าไฟเรา ไม่เคยต่ำกว่า 1,000 ทั้งที่บ้านข้างๆจ่ายแค่ 600 บาท (กิจกรรมก็ไม่ต่างกันมาก) เลยมาให้ความสนใจที่ปั้มตัวนี้ ซึ่งถ้ามันกินไฟ 50 วัตต์จริงๆ มันควรจะกินไฟเพิ่มขึ้นมาเดือนละไม่เกิน 200 บาท (50วัตต์ x 24 ชม. x 30 วัน = 36 หน่วย x 4 บาท = 144 บาท)
และแล้ววันนี้เราจะได้รู้ความจริง ว่ะ 555 ..ผมยอมลงทุนซื้อเครื่องมือวัดกระแสไฟฟ้า AC มา กะจะลองมาทำการทดลองเรื่องที่คาใจมานาน เครื่องมือตัวนี้เค้าเรียก แคล้มป์มิเตอร์(Clamp Meter) ใช้หลักการวัดคลื่นไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากสาย แล้วเอามาคำนวณเป็นกระแสที่เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไป หน้าตาเป็นแบบนี้
วิธีการใช้แคลมป์ตัวนี้ เราต้องต้องนำก้ามของแคลมป์ไปคาบสายไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าเพียง 1 เส้น ซึ่งปกติสายไปจะมี 2 เส้น คู่กันมา เราต้องทำการแยก หรือว่าทำสายไฟพิเศษเพิ่มมาเพื่อเชื่อมกับสายไปเดิมแทน
เริ่มการทดสอบ
- หน้าตาของปั้มที่บ้าน
- เพื่อให้อยู่ในสภาพแวดล้อมจริงเราก็เอาจุ่มน้ำไว้ (ยิ่งปั้มน้ำขึ้นสูงเท่าไหร่ ปั้มจะกินกระแสมากเพราะต้องทำงานหนักขึ้น)
- ลองมาวัดดูเลย เริ่มวัดตอนเปิดปั้มครั้งแรก (ปกติในการเปิดช่วงเริ่มต้นปั้มจะกินกระแสมากกว่าปกติ) ค่าที่วัดได้คือ 0.81 แอมป์
คำนวณเป็นหน่วยวัตต์จากสูตร (Watt = Volt x Amp) 220 โวลท์ x 0.81 แอมป์ = 178.2 วัตต์ - หลังจากปล่อยปั้มทำงานนิ่งแล้ว วัดค่าได้ 0.76 แอมป์
คำนวณเป็นหน่วยวัตต์เท่ากับ 220 โวลท์ x 0.76 แอมป์ = 167.2 วัตต์
เรื่องนี้สรุปได้ว่า
- การต่อสายไปแบบผม อย่าทำเด็ดขาด อันตรายสุดๆ 555
- Atman HA-20 ไม่ได้กินไฟ 50 วัตต์ นะ มันกิน 160-180 วัตต์ เลยล่ะ
- แทนที่จะเสียค่าไฟ ไม่เกิน 200 บาท ต่อเดือน คุณจะต้องเสียเกือบๆ 500 บาทต่อเดือน หรืออาจจะเกินกว่านั้นก็ดูดน้ำขึ้นสูงกว่านี้